บทความ

เส้นทางรักของนักวิ่ง

รูปภาพ
เส้นทางรักของนักวิ่ง กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ เชื่อหรือไม่ว่าการวิ่งทำให้มีความรักได้ ไม่ใช่ว่าวิ่งไปแล้วจะต้องตกหลุมรักใครสักคนอย่างแน่นอน แต่หมายความว่าการวิ่งช่วยสร้างโอกาสให้เกิดอาการ “ปิ๊งปั๊ง” ได้มากกว่ากิจกรรมอย่างอื่น เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ? เหตุผลก็คือการวิ่งและการออกกำลังกายชนิดต่างๆช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลายและมีความสุข ในทางวิทยาศาสตร์มีคำอธิบายว่าการวิ่งทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหลายอย่าง คือสมองจะเกิดการหลั่งสารหลายชนิดที่เกี่ยวพันกับความรู้สึกทางบวก เช่น โปรตีน BDNF ซึ่งส่งผลให้คนผู้นั้นรู้สึกดีมีความสุข สารเอ็นดอร์ฟิน (endorphins) ซึ่งช่วยบรรเทาความเจ็บปวด สารโดปามีน ( dopamine) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ความรักใคร่ชอบพอ ทำให้คนผู้นั้นอาจตกอยู่ในอารมณ์แห่งรักได้ สารโดปามีนจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “เคมีแห่งรัก” ดังนั้น ใครที่ชอบวิ่งเป็นคู่และเกิดความรู้สึกดีๆไปพร้อมกัน ก็เป็นไปได้ว่าในที่สุดทั้งคู่อาจ “ตกหลุมรัก” ซึ่งกันและกันได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงปัจจัยเดียวท่ามกลางปัจจัยมากมายที่ทำให้ผู้คนเกิดอาการตกหลุมรัก ไม

ห้ามมี SEX ในคืนก่อนวิ่งจริงหรือไม่ ?

รูปภาพ
ห้ามมี SEX ในคืนก่อนวิ่งจริงหรือไม่ ? กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ โดยปกติแล้วในคืนก่อนลงแข่งวิ่ง นักวิ่งก็มักเข้านอนกันแต่หัวค่ำเพื่อพักผ่อนให้เต็มอิ่ม สำหรับการวิ่งทางไกลในระยะมาราธอนแล้ว การพักผ่อนยังเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม คำถามที่พบได้บ่อยในหมู่นักวิ่งก็คือ “การมี sex ในคืนก่อนวิ่งเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงหรือไม่ ? ” คำตอบที่ได้ยินกันเป็นส่วนใหญ่คือ “ใช่ พึงหลีกเลี่ยง” พูดง่ายๆก็คือนักวิ่งมีความเข้าใจกันอย่างแพร่หลายว่า sex เป็นกิจกรรมต้องห้ามในคืนก่อนวิ่งนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ลงแข่งในระยะฟูลมาราธอน อย่างไรก็ตาม คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้กลับตรงกันข้าม จูลี เอ็ม เลวิทท์ ( Julie  M. Levitt) สูตินรีแพทย์จากชิคาโก ผู้ผ่านฟูลมาราธอนมาแล้ว 14 ครั้ง กล่าวเอาไว้ในบทความเรื่อง Is It Okay to Have Sex the Night Before a Big Race? Running coaches, ob-gyns, and real-life racers discuss pre-race hanky panky. ซึ่งเขียนโดย เค เอเลชา เฟทเทอร์ส ( K. Aleisha Fetters) และเผยแพร่ใน   www.runnersworld.com จู ลี เลวิทท์มองว่าจริงๆแล้ว ความเข้าใจนี้ไม่ถ

โทษฐานของการมีไอดอล

รูปภาพ
โทษฐานของการมีไอดอล นักวิ่งหลายคนมี “ ไอดอล ” ประจำตัว นั่นคือมีบุคคลอื่นเป็นต้นแบบในการก้าวตามหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ทำเรื่องยากๆ บางคนอยากวิ่งแต่ไม่ลงมือทำ พอได้เห็นใครสักคนสามารถทำสิ่งที่ตนทำไม่ได้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นชั้นเลิศ การเริ่มต้นทำอะไรเพราะอาศัยไอดอลเป็นแรงบันดาลใจไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การยึดติดกับไอดอลมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้ มาพิจารณากันว่าสำหรับนักวิ่ง อันตรายดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้าง 1.                    เกิดพฤติกรรมการวิ่งที่ไม่ยั่งยืน : หากคุณชื่นชมนักวิ่งต้นแบบคนหนึ่งจนทำให้คุณอยากวิ่งแบบเขา เช่น แอบชอบนักวิ่ง โดยหวังว่าวันหนึ่งจะวิ่งเร็วได้อย่างเขา วันหนึ่งจะรูปร่างดีแบบเขา หรือเขาอาจจะชอบฉันก็ได้ คุณอาจคิดว่านี่เป็นแค่ความหวังลมๆแล้งๆที่วาบหวามใจ แม้สุดท้ายผลจะไม่เป็นดั่งฝัน แต่อย่างน้อยก็ได้ออกกำลังกาย ทำให้มีโอกาสได้วิ่งกับเขา ได้อยู่ใกล้ๆ ได้พูดคุย มองมุมนี้เห็นทีจะไม่มีผลเสีย แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งเขาโกรธหรือเกลียดคุณขึ้นมาล่ะ คุณจะไม่เลิกวิ่งหรอกหรือ เกิดวันหนึ่งเขาเลิกวิ่งล่ะ คุณจะไม่เลิกวิ่งไปด้วยหรือ ใช่ กว่าจะถึงวันนั้นคุณอาจชอบวิ่งไปแล้วก็

SEE ANGKOR WAT AND RUN

รูปภาพ
See Angkor Wat and Run กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ นักเดินทางมากหลายดุ่มเดินเข้าสู่เมืองโบราณนาม “เมืองพระนคร” ( Angkor) มาตลอดสองพันปี ที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางอารยธรรมขอมอันรุ่งเรืองและเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ยี่สิบศตวรรษที่กัมพูชาภูมิใจ โดยทั่วไปแล้วชาวไทยเรียกเมืองพระนครอย่างแพร่หลายว่า “นครวัด นครธม” ทั้งๆที่ในความจริงนั้น “นครวัด” ( Angkor Wat) เป็นเพียงชื่อเรียกศาสนสถานแห่งหนึ่ง และ “นครธม” (Angkor Thom) ก็เป็นเพียงขอบเขตพระนครหลวงที่สร้างขึ้นในภายหลังเท่านั้น เมืองพระนครผ่านยุคสมัยอันเกรียงไกรและเสื่อมถอย บางช่วงเวลานครแห่งนี้เคยถูกทิ้งร้างกระทั่งกลืนหายไปกับผืนป่า เรื่องราวแต่ละช่วงถูกถ่ายทอดผ่านตำนาน ศิลาจารึก เอกสาร และคำบอกเล่าจากนักเดินทางนับไม่ถ้วนที่ได้มาเยือนนครแห่งนี้ แต่ไม่ว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะมากมายเพียงใด เชื่อว่าไม่มีเรื่องใดกล่าวถึงการวิ่งมาราธอนกลางฤดูฝน จนกว่าดวงตะวันจะใกล้โผล่พ้นขอบฟ้าในรุ่งสางของเช้าวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2557 เมื่องาน Angkor Empire Marathon ครั้งที่ 1 ได้เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการ  www.angkorempiremarathon.org

อาการเบื่อวิ่ง

รูปภาพ
อาการเบื่อวิ่ง อาการเบื่อวิ่ง  คือภาวะของคนที่เดิมคลั่งไคล้การวิ่ง แต่ปัจจุบันกลับเบื่อหน่ายการวิ่ง และไม่อยากรับรู้เรื่องราวการวิ่งของคนอื่นด้วย ถ้าอาการเช่นนี้เกิดขึ้นแค่เพียงประเดี๋ยวประด๋าวก็คงไม่มีอะไร แต่หากเกิดต่อเนื่องติดกันหลายเดือนก็เป็นสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นว่ามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับคนผู้นั้นแล้ว เหตุใดถึงเกิดอาการเบื่อวิ่ง ?   คงไม่เป็นการดีแน่หากเบื่อนานเกินไป เพราะมันทำให้มีปัญหาสารพัดเข้ามา อย่างเช่น ความอ้วน ความเครียด และอาการอื่นๆอีกร้อยแปดซึ่งเดิมเคยจัดการเสียอยู่หมัด ดังนั้นการเข้าใจและรู้สาเหตุที่แน่ชัดของอาการนี้ก็นำมาสู่วิธีการแก้ไขปัญหาได้  ข้อแนะนำ ของผมอาจไม่ได้มีรายละเอียดมากมายและผลสรุปที่แน่นอนเหมือนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่อย่างน้อยก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ในฐานะที่เป็นเพื่อนนักวิ่งด้วยกัน คือก่อนอื่นคุณต้องตั้งเป้าหมายซะ หรือไม่ก็เปลี่ยนเป้าหมาย หรือถ้ามีอยู่แล้วแต่ไม่เป็นผล ก็อาจเป็นเพราะคุณเคยทำสำเร็จมาแล้วจึงทำให้ขาดแรงจูงใจในการบรรลุ ดังนั้นจึงต้องยกระดับหรือเปลี่ยนเป้าหมายเสียใหม่ ซึ่งสามารถทำได้หลากหลาย เท่าที่ผมเคยใช